Epinephrine
Epinephrine (อิพิเนฟริน) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมักใช้รักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น แมลงกัดต่อย แพ้อาหารและยา หรือสารชนิดอื่น รักษาภาวะช็อกหรือความดันโลหิตต่ำรุนแรง ใช้กระตุ้นการทำงานของหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น

นอกจากนี้ ยังใช้รักษาอาการหรือภาวะอื่น ๆ เช่น หายใจสั้น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบากจากโรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง รักษาอาการตีบแคบของช่องทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบของกล่องเสียงและหลอดลม (Croup) บางครั้งอาจใช้ผสมกับยาชา เพื่อทำหัตถการต่าง ๆ ทางการแพทย์ หรือใช้ผสมกับยาเม็ดชนิดอื่น เช่น ทำเป็นยาหยอดตารักษาภาวะความดันในลูกตาสูงหรือรักษาต้อหินบางชนิด เป็นต้น
Epinephrine จัดเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในทางการแพทย์ เพื่อให้คล้ายคลึงกับฮอรโมนอะดรีนาลีนที่ร่างกายสร้างได้จากต่อมหมวกไต โดยตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นแอลฟา-รีเซพเตอร์ (Alpha Receptor) หรือเบต้า-รีเซพเตอร์ (Beta Receptor) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจคลายตัวหรือหลอดเลือดตีบตัว ทำให้หายใจได้สะดวก ช่วยเพิ่มความดันโลหิต รวมถึงกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
เกี่ยวกับยา Epinephrine
กลุ่มยา ซิมพาโทมิเมติค (Sympathomimetic Drug)
ประเภทยา ยาหาซื้อได้เอง ยาตามคำสั่งแพทย์
สรรพคุณ รักษาอาการตีบแคบของช่องทางเดินหายใจ โรคหอบหืด อาการแพ้รุนแรง
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาพ่น ยาฉีด ยาหยอดตา
คำเตือนของการใช้ยา Epinephrine
ห้ามใช้ยา Epinephrine กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย โรคต้อหินแบบมุมปิด ภาวะภูมิแพ้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็วผิดปกติ หรือใช้ร่วมกับยาชาที่ฉีดเข้าบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า หู จมูก และอวัยวะเพศ
ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต โรคความดันโลหิตสูง และโรคพาร์กินสัน
ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือวางแผนจะมีบุตร ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยาเสมอ
ในระหว่างการใช้ยา Epinephrine ห้ามขับขี่ยานพาหนะ ทำงานกับเครื่องจักรกล หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เพราะตัวยาทำให้เกิดอาการมึนงง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน
ผู้ที่กำลังใช้ยาฟูราโซลิโดน (Furazolidone) หรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOI) ควรเว้นระยะอย่างน้อย 14 วัน ก่อนใช้ยา Epinephrine
ยา Epinephrine อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงเมื่อใช้ควบคู่กับยาบางกลุ่ม เช่น ยาฟูราโซลิโดน (Furazolidone) ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor (MAOI) หรือกลุ่ม Tricyclic Antidepressants ยาโบรโมคริปทีน (Bromocriptine) ยากลุ่มแคทิคอล-โอ-เมทิลทรานสเฟอเรส (Catechol-O-Methyltransferase (COMT) Inhibitors) ยาไดจอกซิน (Digoxin) หรือยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
การใช้ยา Epinephrine ควบคู่กับยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) ยาดรอกซีโดปา (Droxidopa) หรือฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine) อาจส่งผลต่อความดันโลหิต (ความดันสูงหรือต่ำลง) และการเต้นของหัวใจ (เต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ) จึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ
ไม่ควรใช้ยา Epinephrine พร้อมกับยากัวเนธิดีน (Guanethidine) เพราะอาจลดประสิทธิภาพยา Epinephrine ลง
ห้ามใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาทดลองที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของการใช้ยา Epinephrine ในเด็ก
ปริมาณการใช้ยา Epinephrine
โรคหืดที่มีอาการรุนแรง
ผู้ใหญ่: ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือชั้นใต้ผิวหนัง (1:1,000) 0.3-0.5 มิลลิกรัม (300-500 ไมโครกรัม) และให้ยาซ้ำเมื่อจำเป็นทุก ๆ 5-10 นาที
เด็ก: ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือชั้นใต้ผิวหนัง (1:1,000) 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (10 ไมโครกรัม) ขนาดยาสูงสุดไม่ควรเกิน 0.5 มิลลิกรัม (500 ไมโครกรัม)
ควบคุมดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก
ผู้ใหญ่ : ฉีดยาหลอดเลือดดำ (1:1,000 หรือหรือ 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) 0.5-2 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที และอาจเพิ่มขนาดยาขึ้น 0.05-2 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที ตามค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย (Mean Arterial Pressure: MAP) ทุก ๆ 10-15 นาที
ภาวะความดันตาสูงหรือโรคต้อหินชนิดมุมเปิด
ผู้ใหญ่: ยาหยอดตา ความเข้มข้น 0.5%, 1% หรือ 2% หยอดตาวันละ 1-2 ครั้ง
อาการแพ้แบบรุนแรง
เด็กอายุมากกว่า 12 ปีและผู้ใหญ่: ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (1:1,000) 0.3-0.5 มิลลิลิตร (300-500 ไมโครกรัม) และให้ยาซ้ำเมื่อจำเป็นทุก ๆ 5 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น
เด็กอายุ 6-12 ปี: ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (1:1,000) 0.3 มิลลิลิตร (300 ไมโครกรัม)
เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี: ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (1:1,000) 0.01 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
ภาวะหัวใจหยุดเต้น
ผู้ใหญ่: ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (1:10,000 หรือ 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) 10 มิลลิลิตร โดยฉีดยาเริ่มต้น 1 มิลลิกรัม และให้ยาซ้ำทุก ๆ 3-5 นาที หรือฉีดเข้าไขกระดูกด้วยขนาดยาเท่ากัน หรือให้ยาผ่านทางท่อช่วยหายใจโดยเพิ่มขนาดยาเป็น 2-3 เท่าของขนาดยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
เด็ก: ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (1:10,000) ขนาด 0.1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) และฉีดยาซ้ำเมื่อจำเป็นทุก ๆ 3-5 นาที หรือฉีดเข้าไขกระดูกด้วยขนาดยาเท่ากัน หรือให้ยาผ่านทางท่อช่วยหายใจ 0.05-0.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สารละลาย 1:10,000)
นอกจากนี้ ยังใช้รักษาภาวะอื่น ๆ เช่น นำมาใช้ในรูปแบบยาพ่น เพื่อรักษาภาวะหลอดลมและกล่องเสียงอักเสบในเด็กหรือโรคครู้ป (Croup) โดยพ่นยา Epinephrine (1:1,000) 0.05-0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สำหรับขนาดสูงสุดในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ต้องพ่นยา 2.5 มิลลิลิตรต่อครั้ง โดยต้องเจือจางในน้ำเกลือ ความเข้มข้น 0.9% ให้ได้ยาปริมาณ 3 มิลลิลิตรก่อนใช้ ซึ่งจะได้ผลภายในครึ่งชั่วโมง อาจให้ยาซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้นหากจำเป็น
การใช้ยา Epinephrine
ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา สมุนไพร อาหารเสริม หรือยาทุกชนิดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสมอ ตัวยามีอยู่หลายรูปแบบ แต่ในประเทศไทยมักจะใช้ยา Epinephrine ในรูปแบบยาฉีด ซึ่งจะใช้เฉพาะภายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่หากเป็นยาชนิดพ่นหรือหยอดตาควรใช้ตามแพทย์กำหนดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากกำกับการใช้ยา
ในกรณีที่ลืมใช้ยา ควรรีบใช้ยาทันทีเมื่อทราบ แต่หากใกล้เวลาใช้ยาในรอบถัดไป ให้ผู้ป่วยข้ามไปใช้ยาของรอบถัดไปแทน ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า เนื่องจากการใช้ยาเกินปริมาณที่แพทย์กำหนดหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานานนอกเหนือคำสั่งแพทย์อาจส่งผลให้เกิดอาการดื้อยา หากเกิดความผิดปกติหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์
การเก็บยา ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ห่างจากความร้อน ความชื้น แสงแดด และเก็บไว้ในที่ที่พ้นจากมือเด็ก รวมไปถึงไม่ควรนำยาที่หมดอายุมารับประทาน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Epinephrine
ยา Epinephrine อาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีปัญหาในการนอน ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ มีอาการทางประสาท วิตกกังวล ใจสั่น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาที่พบได้บ่อย หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม บางรายควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่ออาการรุนแรงกว่าเดิมหลังการใช้ยา ชาตามนิ้วมือหรือนิ้วเท้า ตัวแดง หรือมีอาการแพ้ยาตามมา ซึ่งสังเกตได้จากการเกิดผื่นตามผิวหนัง ลมพิษ มีอาการคัน หายใจลำบากหรือมีเสียงวี๊ด ๆ แน่นหน้าอก มีอาการบวมตามใบหน้า ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น
https://www.pobpad.com
สนใจสินค้านี้ สั่งซื้อราคาถูกพิเศษที่>>http://www.vitamin24hr.com/
ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท
แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr
หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr
****
วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า ^__^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น