http://www.true100percent.com/

http://www.true100percent.com/
สั่งซื้อสินค้าอออนไลน์ ได้ง่ายๆ คลิกเลย^^ www.true100percent.com
atopalm atopiclair Beta-Curve Bio-oil BK MASK burnova cetaphil CG210 COLLA-L creatine activ Dermalis DERMALIS skincare dermatix Dr.Jill DYMABURN Ellgy eucerin EZERRA Gluta Mc Plus HAKUBI C Gel Helionof Himalaya hiruscar LA ROCHE LIPO8 MAXKIN MC PLUS mederma MEDMAKER Meiji Melloderm-HQ Neocell okamoto OMG Physiogel pico Preme SAND-M scagel scaresthetique scargel Smooth-E spectraban TOMEI Vistra vitara berich Zermix กระชับสัดส่วน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กันแดด ครีมบำรุงผิว เคล็ดลับสุขภาพดี เคล็ดลับหน้าขาวใส ช่วยนอนหลับ ที่ตรวจการตกไข่ ที่ตรวจครรภ์ใช้ง่าย ที่ตรวจยาบ้า บำรุงกระดูกและข้อต่อ บำรุงสุขภาพ ปากแห้ง ผมร่วง ผิวขาว ผิวแพ้ง่าย เพิ่มสมรรถภาพชาย มาส์กหน้าใส รักษาฝ้า รักษาสิว ลดน้ำหนัก ลบรอยแผลเป็น ลิปบาล์ม สมุนไพร กลูต้าไทโอน คอลลาเจน ตังถังเช่า ถังเช่า ถุงยางอนามัย ทับทิม เวย์โปรตีน AHA Aloe vera grape seed Urea อุปกรณ์การแพทย์ FOR MEN FOR WOMEN Review COSMETIC Review Vitamin

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

ปลาแซลมอน อาหารจานโปรดกับประโยชน์ต่อสุขภาพ


ปลาแซลมอน อาหารจานโปรดกับประโยชน์ต่อสุขภาพ



ปลาแซลมอนเป็นปลาทะเลที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน ด้วยรสชาติอร่อยและอุดมไปด้วยไขมันชนิดดี และยังขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บำรุงสุขภาพ ดีต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ และอาจรักษาป้องกันโรคร้ายบางชนิดได้



ปลาแซลมอนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 โปรตีน วิตามินบี วิตามินดี โพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารประเภทแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ปลาแซลมอนจึงอาจเป็นมากกว่าเมนูอาหาร แต่อาจมีคุณสมบัติต้านโรคได้ด้วย การบริโภคปลาแซลมอนมีประสิทธิผลทางการแพทย์จริงหรือไม่ ศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้

ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากคราบไขมันเกาะตัวภายในผนังหลอดเลือดหัวใจจนหลอดเลือดตีบและอุดตัน ทำให้ปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือดและเกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา หากมีไขมันสะสมในเลือดสูงโดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงเผชิญโรคนี้ได้ โดยเนื้อปลาแซลมอนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและอาจช่วยชะลอการสะสมของคราบไขมันได้

มีงานวิจัยที่ให้ผู้ทดลองซึ่งมีไขมันในเลือดในระดับปกติถึงระดับมีไขมันเกินกว่าปกติเล็กน้อยบริโภคปลาแซลมอน วอลนัต และอาหารควบคุมที่ไม่มีแซลมอนหรือวอลนัตเป็นเวลาอย่างละ 4 สัปดาห์ ผลที่ได้ คือ เมื่อบริโภควอลนัต ผู้ทดลองมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวมและไขมันชนิดไม่ดีลดลงมากที่สุด ส่วนการบริโภคเนื้อปลาแซลมอนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในขณะที่ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) เมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคอาหารควบคุมที่ไม่มีอาหาร 2 ชนิดนี้

อีกงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 60 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกบริโภคน้ำมันปลาที่ทำจากปลาแซลมอนแอตแลนติก 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มถัดมาบริโภคน้ำมันเรปซี้ด (Rapeseed) 100 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มสุดท้ายบริโภคน้ำมันปลาและน้ำมันเรปซี้ดร่วมกันอย่างละ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังผ่านไป 6 สัปดาห์พบว่า กลุ่มที่บริโภคน้ำมันปลาแซลมอนมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงและมีสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบภายในหลอดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เหลือ

จากผลการทดลองต่าง ๆ แม้พบประสิทธิภาพของสารประกอบในปลาแซลมอนที่เป็นประโยชน์ต่อการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่งานค้นคว้าเหล่านี้เป็นเพียงการทดลองขนาดเล็กที่เปรียบเทียบประสิทธิผลกับอาหารชนิดอื่น จึงควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ขึ้น และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์การทดลองชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บำรุงครรภ์คนท้อง

ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้ตนเองกับทารกในครรภ์มีสุขภาพดีและคลอดบุตรอย่างปลอดภัย คุณแม่จำเป็นต้องดูแลสุขภาพตนเองเป็นพิเศษ การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย เชื่อว่าการบริโภคปลาแซลมอนอาจบำรุงสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วย โดยมีการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 จำนวน 62 คน บริโภคเนื้อปลาแซลมอน 150 กรัม 2 ครั้ง/สัปดาห์ ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์อีก 61 คน บริโภคอาหารตามปกติไปจนคลอดบุตร ผลการทดลองพบว่า การบริโภคปลาแซลมอนช่วยเพิ่มกรดอะมิโนบางชนิดที่จำเป็นต่อกระบวนการเจริญเติบโตและการบำรุงระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ให้สารอาหารจำเป็นสำหรับการบำรุงครรภ์ ดังนั้น ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรบริโภคปลาหรืออาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนการบริโภคเสมอโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาสุขภาพใด ๆ อยู่

ช่วยให้นอนหลับสบาย

นอกจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีพลังงาน ยังกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ปรับสภาพอารมณ์ และบรรเทาความเครียดได้ การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์อย่างปลาแซลมอนก็อาจช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเช่นกัน โดยมีงานทดลองให้ชายชาวอเมริกา 95 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานปลาแซลมอน 3 ครั้ง/สัปดาห์ ในขณะที่อีกกลุ่มรับประทานอาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อหมู และเนื้อวัว เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการบริโภคปลาแซลมอนอาจช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีที่อาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับและสมรรถภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานปลาแซลมอน

อย่างไรก็ตาม งานทดลองดังกล่าวเป็นการทดลองเฉพาะกลุ่ม และผู้ทดลองอาจรับประทานอาหารประเภทอื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อการนอนหลับไปพร้อมกับการบริโภคปลาแซลมอนด้วย ดังนั้น จึงควรมีการค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมในกลุ่มทดลองที่หลากหลายและควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ดี เพื่อยืนยันประสิทธิผลในด้านนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง

ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คือ การอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร มีเลือดออกที่ผนังลำไส้ หรือลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น จนเกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายมีเลือดและมูกปนออกมา มีสมมติฐานที่ว่าสารอาหารและกรดไขมันไม่อิ่มตัวในเนื้อปลาแซลมอนอาจช่วยต้านการอักเสบและรักษาลำไส้อักเสบได้ โดยมีงานทดลองที่ให้ผู้ป่วยโรคนี้ 12 ราย บริโภคปลาแซลมอนแอตแลนติก 600 กรัม/สัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าผู้ป่วยมีสารต้านการอักเสบในร่างกายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีอาการของโรคลดลง

แม้ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาควบคุมอาการผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบชนิดนี้ แต่งานวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองขนาดเล็ก จึงควรค้นคว้าเพิ่มเติมถึงประสิทธิผลที่แน่ชัดของปลาแซลมอนก่อนนำมาประยุกต์ใช้รักษาบรรเทาอาการในผู้ป่วยจริงต่อไป

ความปลอดภัยในการบริโภคปลาแซลมอน

โดยทั่วไป ควรบริโภคเนื้อปลาที่มีโอเมก้า 3 โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันอย่างปลาแซลมอนอย่างน้อยประมาณสัปดาห์ละ ประมาณ 200 กรัม เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย แต่มีงานวิจัยบางส่วนพบว่าเนื้อปลาและสัตว์ทะเลมีเปลือก เช่น ปลาแซลมอน กุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง อาจมีสารปรอทซึ่งเป็นสารเคมีที่อันตรายต่อร่างกายตกค้างอยู่แม้จะพบในปริมาณน้อยก็ตาม ผู้บริโภคจึงควรบริโภคเนื้อปลาอย่างหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการวางแผนรับประทานอาหาร และปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคอาหารแต่ละชนิดรวมถึงปลาแซลมอนด้วย โดยเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร สามารถบริโภคปลาแซลมอนและปลาชนิดอื่น ๆ ได้ตามปริมาณที่แนะนำเช่นกัน แต่ไม่ควรบริโภคเนื้อปลาเกินสัปดาห์ละ 340 กรัม เพื่อป้องกันการรับสารเคมีตกค้างอย่างปรอทเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอันตราย

แม้ปลาแซลมอนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโอเมก้า 3 ซึ่งพบได้มากโดยเฉพาะในปลาแซลมอนที่เพาะเลี้ยงในฟาร์ม แต่นอกจากเนื้อปลาแซลมอน ผู้บริโภคสามารถได้รับโอเมก้า 3 จากแหล่งอาหารอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาจาระเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพง ปลาช่อน กุ้ง ถั่วเหลือง วอลนัต เมล็ดแฟลกซ์ เป็นต้น

https://www.pobpad.com
สนใจสินค้านี้ สั่งซื้อราคาถูกพิเศษที่>>http://www.vitamin24hr.com/
ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท
แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr
หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr
****
วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า ^__^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

www.True100percent.com โทร 092-6161666, 02-0027539 : LINE: @mox9486f

เวชสำอางค์ ให้คุณช้อปจนจุใจ