http://www.true100percent.com/

http://www.true100percent.com/
สั่งซื้อสินค้าอออนไลน์ ได้ง่ายๆ คลิกเลย^^ www.true100percent.com
atopalm atopiclair Beta-Curve Bio-oil BK MASK burnova cetaphil CG210 COLLA-L creatine activ Dermalis DERMALIS skincare dermatix Dr.Jill DYMABURN Ellgy eucerin EZERRA Gluta Mc Plus HAKUBI C Gel Helionof Himalaya hiruscar LA ROCHE LIPO8 MAXKIN MC PLUS mederma MEDMAKER Meiji Melloderm-HQ Neocell okamoto OMG Physiogel pico Preme SAND-M scagel scaresthetique scargel Smooth-E spectraban TOMEI Vistra vitara berich Zermix กระชับสัดส่วน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กันแดด ครีมบำรุงผิว เคล็ดลับสุขภาพดี เคล็ดลับหน้าขาวใส ช่วยนอนหลับ ที่ตรวจการตกไข่ ที่ตรวจครรภ์ใช้ง่าย ที่ตรวจยาบ้า บำรุงกระดูกและข้อต่อ บำรุงสุขภาพ ปากแห้ง ผมร่วง ผิวขาว ผิวแพ้ง่าย เพิ่มสมรรถภาพชาย มาส์กหน้าใส รักษาฝ้า รักษาสิว ลดน้ำหนัก ลบรอยแผลเป็น ลิปบาล์ม สมุนไพร กลูต้าไทโอน คอลลาเจน ตังถังเช่า ถังเช่า ถุงยางอนามัย ทับทิม เวย์โปรตีน AHA Aloe vera grape seed Urea อุปกรณ์การแพทย์ FOR MEN FOR WOMEN Review COSMETIC Review Vitamin

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

โรคไต กับสมุนไพรบำบัด


โรคไต กับสมุนไพรบำบัด



โรคไตเป็นปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา มีความเชื่อมากมายที่ว่าการบริโภคสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ โดยมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์แง่มุมดังกล่าวมาแต่อดีตจนปัจจุบัน และมีหลักฐานทางการแพทย์บางส่วนที่อ้างถึงคุณประโยชน์ทางการบำบัดโรคไตด้วยสมุนไพรบางอย่าง ดังต่อไปนี้



โกจิเบอร์รี่

โกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) หรือเก๋ากี้ เป็นพืชพื้นเมืองประเทศจีน ผลมีสีแดงสด อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ เส้นใยอาหาร ธาตุเหล็ก ซิงค์ สารต้านอนุมูลอิสระ และกรดอะมิโนจำเป็น บางคนเชื่อว่าโกจิเบอร์รี่เป็นยาอายุวัฒนะช่วยให้อายุยืนยาว บำรุงสุขภาพ หรืออาจเป็นยารักษาโรคได้ จึงมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของโกจิเบอร์รี่ต่อการรักษาโรคไตเช่นกัน

มีงานค้นคว้าหนึ่งใช้สารโพลีแซคคาไรด์ที่ได้จากโกจิเบอร์รี่ทดลองในหนูที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่าสารดังกล่าวช่วยลดความเสียหายของเซลล์เนื้อเยื่อในไตที่เกิดจากยาชนิดหนึ่งได้ ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการป้องกันการเกิดความเสียหายในไตจากโรคเบาหวาน

เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทดลองใช้สารโพลีแซคคาไรด์จากโกจิเบอร์รี่ในกระต่ายที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่าสารนี้ช่วยป้องกันภาวะไตทำงานผิดปกติ และชะลอการเกิดโรคไตที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานได้

นอกจากนี้ ยังมีงานทดลองอีกจำนวนหนึ่งที่พบว่า สารโพลีแซคคาไรด์ในโกจิเบอร์รี่ช่วยป้องกันความเสียหายของไตด้วยการลดการเกิดอนุมูลอิสระจากการสลายไขมัน และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระภายในเนื้อเยื่อไตของหนูทดลอง ซึ่งอาจนำผลลัพธ์นี้ไปพัฒนาการรักษาโรคไตด้วยโกจิเบอร์รี่ในอนาคตได้

แม้มีการค้นพบประสิทธิผลในการรักษาและป้องกันโรคไตของสารสกัดในโกจิเบอร์รี่ แต่งานค้นคว้าเหล่านั้นล้วนเป็นงานทดลองในสัตว์ ซึ่งควรมีการทดลองในคนเพื่อศึกษาประสิทธิภาพที่แน่ชัดของโกจิเบอร์รี่ ก่อนนำผลลัพธ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อป้องกันการเกิดโรคไต หรือรักษาผู้ป่วยโรคไตได้จริงในอนาคต

จนกว่าจะมีการยืนยันทางการแพทย์ที่แน่ชัดในด้านสรรพคุณและปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานโกจิเบอร์รี่ ผู้บริโภคควรรับประทานในปริมาณที่พอดี โดยการรับประทานในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ค่อนข้างปลอดภัย แต่ในบางรายอาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเสมอ เพราะผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดก็ควรระมัดระวังในการรับประทานโกจิเบอร์รี่ เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น

ขิง

ขิง มักนำมาปรุงอาหาร เป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่ม สบู่ และเครื่องสำอาง และเชื่อว่าขิงอาจเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์รักษาโรคหลายชนิดรวมทั้งโรคไตได้ด้วย โดยมีงานค้นคว้าจำนวนหนึ่งที่ทดลองใช้สารสกัดจากขิงกับหนูทดลอง พบว่า สารสกัดดังกล่าวช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บที่ไตได้โดยยับยั้งสารก่อการอักเสบ

แม้มีงานทดลองที่ค้นพบประสิทธิภาพดังกล่าว แต่งานเหล่านั้นเป็นเพียงการทดลองในสัตว์ ซึ่งยังไม่อาจนำผลทดลองมายืนยันประโยชน์ทางการรักษาโรคไตในคนได้ จึงควรมีการค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป เพื่อนำผลลัพธ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไตในอนาคต

นอกจากนี้ การบริโภคขิงอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น รู้สึกไม่สบายท้อง มีแก๊สในกระเพาะ แสบร้อนกลางอก ท้องเสีย และอาจมีเลือดประจำเดือนออกมากกว่าปกติในผู้หญิงบางราย จึงควรระมัดระวังในการบริโภคขิงเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนบริโภคขิงและผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ทำจากขิง

ผักชี

ผักชีอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารโภชนาการต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผักชีอาจช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและย่อยอาหาร รักษาโรคผิวหนังบางชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อราหรือแบคทีเรีย รวมทั้งอาจรักษาโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไตได้ด้วย

จากงานวิจัยเก่าชิ้นหนึ่งที่ให้หนูทดลองบริโภคผักชีแล้วดื่มน้ำที่มีสารตะกั่วเป็นเวลา 32 วัน พบว่าสารในผักชีช่วยลดการสะสมของตะกั่วที่กระดูกและอาจช่วยลดการเกิดความเสียหายของไตจากสารตะกั่วได้ ในขณะที่มีงานวิจัยอีกชิ้นในยุคถัดมาซึ่งทดลองใช้สารสกัดจากผักชีเพื่อรักษาหนูทดลองที่มีภาวะไตได้รับพิษจากยาชนิดหนึ่ง พบว่าสารฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอลในผักชีอาจช่วยรักษาและป้องกันการเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อในไตได้

อย่างไรก็ตาม งานทดลองข้างต้นเป็นเพียงการทดลองในสัตว์เท่านั้น จึงควรศึกษาเพิ่มเติมโดยทดลองประสิทธิผลที่ชัดเจนในคนต่อไป และแม้ผักชีเป็นพืชที่คนบริโภคทั่วไปโดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ผักชีก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางรายได้เช่นกัน ผู้บริโภคจึงควรรับประทานผักชีในปริมาณพอดี และคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อายุ สุขภาพร่างกาย การเจ็บป่วยและโรคประจำตัว โดยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเสมอ หากต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักชี

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น เส้นใยอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เซเลเนียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง เป็นต้น จึงเชื่อว่าเห็ดหลินจืออาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ตลอดจนอาจช่วยรักษาและป้องกันโรคบางชนิด รวมถึงโรคไตได้ด้วยเช่นกัน

มีงานค้นคว้าในอดีตซึ่งใช้น้ำร้อนผสมสารสกัดจากเห็ดหลินจือทดสอบปฏิกิริยาในตับและไตของหนูทดลอง พบว่าเห็ดหลินจืออาจช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายของตับและไตจากแอลกอฮอล์ได้ และจากการศึกษาสารประกอบของเห็ดหลินจือในห้องปฏิบัติการในยุคถัดมา พบว่าสารบางชนิดในเห็ดหลินจือช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายในไตจากยาเคมีบำบัดชนิดหนึ่งได้ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระและยับยั้งกระบวนการอักเสบ

อย่างไรก็ตาม งานทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาในสัตว์ทดลอง ตัวอย่างสารและเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงควรค้นคว้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นโดยทำการทดลองในคนด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ชัดเจนและสามารถนำเห็ดหลินจือไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตได้จริงต่อไป

แม้เห็ดหลินจือมีสารโภชนาการที่ให้คุณและอาจบำรุงสุขภาพด้านต่าง ๆ ได้ แต่ผู้บริโภคก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดหลินจือ ระมัดระวังในด้านปริมาณและรูปแบบเห็ดหลินจือที่บริโภค และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการบริโภคเสมอ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ควรบริโภคเห็ดชนิดนี้รวมถึงอาหารต่าง ๆ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เสมอ

เห็ดหอม

เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะมีสารโภชนาการมากมาย เช่น เส้นใยอาหาร วิตามินบี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน สังกะสี แมกนีเซียม และวิตามินดี หลายคนเชื่อว่าการรับประทานเห็ดชนิดนี้ดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และอาจรักษาหรือป้องกันโรคไตได้

มีการค้นคว้าให้หนูทดลองรับประทานสารที่มีส่วนผสมของโพลีแซคคาไรด์ที่สกัดจากเห็ดหอม หรือฉีดสารดังกล่าวเข้าช่องท้องของหนูทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าสารนี้อาจช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายและการอักเสบในไต ตับ และปอดจากสารพิษของแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ส่วนการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาปฏิกิริยาของสารเลนติแนนที่สกัดจากเห็ดหอมในตัวอย่างเซลล์ของหนูทดลอง พบว่าสารดังกล่าวช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายกับไตจากยาเคมีบำบัดชนิดหนึ่งได้อย่างมีนัยสำคัญ

การวิจัยข้างต้นอาจแสดงถึงประสิทธิผลของเห็ดหอมต่อการรักษาและป้องกันโรคไต แต่งานค้นคว้าดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในสัตว์และตัวอย่างเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงควรศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้เห็ดหอมในการรักษาโรคไตในคน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนและใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ต่อไป

เห็ดหอมเป็นอาหารที่คนนิยมบริโภคกันทั่วไป และไม่ทำให้เกิดอันตรายหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากบริโภคในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อหวังประโยชน์เชิงการรักษา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากเห็ดหอม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ เช่น รู้สึกไม่สบายท้อง ผิวหนังอักเสบ มีอาการแพ้ และหายใจลำบาก ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการรับประทานเห็ดหอม ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนรับประทานเห็ดหอมหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากเห็ดหอมเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง และภาวะเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงผิดปกติ เป็นต้น

สมุนไพรรักษาโรคไต ปลอดภัยหรือไม่ และรักษาได้จริงหรือ ?

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แน่ชัดระบุว่าสมุนไพรต่าง ๆ รักษาหรือป้องกันโรคไตได้ ผู้บริโภคจึงควรรับประทานพืชแต่ละชนิดเป็นอาหารในปริมาณที่พอดี เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเป็นสมุนไพรในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดก่อนบริโภคเสมอ และควรระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะผู้บริโภคที่กำลังมีปัญหาสุขภาพ

ส่วนผู้ป่วยโรคไต ควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานอาหารแต่ละชนิดด้วยความระมัดระวัง โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานหรือควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งการบริโภคสมุนไพรต่าง ๆ ด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย ควบคุมอาการป่วย และป้องกันอาการกำเริบ

https://www.pobpad.com
สนใจสินค้านี้ สั่งซื้อราคาถูกพิเศษที่>>http://www.vitamin24hr.com/
ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท
แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr
หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr
****
วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า ^__^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

www.True100percent.com โทร 092-6161666, 02-0027539 : LINE: @mox9486f

เวชสำอางค์ ให้คุณช้อปจนจุใจ